วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  30 มีนาคม  2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ

    สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากนำวิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์มาเรียนชดเชยแทน เพราะคาบวิชาในวันพุธทางคณะมีการจัดกิจกรรมกีฬาสี




วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  23 มีนาคม  2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ
     
      สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เป็นการสอบย่อยเก็บคะแนน 10 คะแนน  

ความรู้สึกในการสอบครั้งนี้ ไม่ค่อยมั่นใจอยู่สักเท่าไหร่เข้าใจในเนื้อหาแต่เวลาทำข้อสอบจริงๆไม่รู้จะเขียนอธิบายออกยังไงรู้สึกกดดันเลยไม่แน่ใจว่าที่เขียนไปจะถูกต้องหรือป่าว เลยอยากให้อาจารย์เบียร์ช่วยพิจารณาด้วยนะค่ะ




วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 10


บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  16 มีนาคม  2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ
     ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้ให้เล่นเกม แบบทดสอบทางจิตวิทยา "ไร่สตอเบอร์รี่"


เนื้อหาที่ได้เรียน 
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
    เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
    การกินอยู่
    การเข้าห้องน้ำ
    การแต่งตัว
    กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
  •เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  •อยากทำงานตามความสามารถ
  •เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
   การได้ทำด้วยตนเอง
   •เชื่อมั่นในตนเอง
   •เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
  •ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
  •ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  •ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
  •“ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
  เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
  •หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  •เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  •มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  •เรียงลำดับตามขั้นตอน
การวางแผนทีละขั้น
  แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
•ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
•ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
•ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
•ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
•เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ


กิจกรรมร้องเพลง



กิจกรรมบำบัด
    อาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นแล้วให้วาดวงกลมวนไปเรื่อยๆโดยเริ่มจากวงเล็กไปหาใหญ่ตามความต้องการของตนเอง ใช้สีโดยไม่ซ้ำกัน 
นี่คือ วงกลมของฉัน
หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ทุกคนนำวงกลมของตัวเองไปติดไว้ที่ลำต้น

ผลงานต้นไม้วิเศษ ที่ทุกคนสร้างขึ้นมา

กิจกรรมนี้ สามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มิติสัมพันธ์ การแสดงออกตามจินตนาการ คณิตศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ สมาธิ 

การนำความรู้ไปใช้
  สามารถนำทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กไปพัฒนาการเรียนการสอน เช่นการย่อยงานให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเอง และการจัดกิจกรรมบำบัดให้กับเด็กได้เหมาะสม

การประเมิน
  ประเมินตนเอง > เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมภายในห้อง
 ประเมินเพื่อน >  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบคำถามและทำกิจกรรม ช่วยกันร้องเพลง
  ประเมินอาจารย์> เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี มีกิจกรรมให้ทำตลอดเวลามีการสอดแทรกความรู้ต่างๆจากเนื้อหาทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น






















 


วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  9 มีนาคม  2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ
     ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้ให้เล่นเกม แบบทดสอบทางจิตวิทยา "เที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า"


กิจกรรม ร้องเพลงทบทวนอีกครั้ง


ชมโทรทัศน์ครู



เนื้อหาที่ได้เรียน
    การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
  • เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
  • ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
  • ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
  • ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
  • อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
  • อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
  • ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
  • เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
  • การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
   • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  •กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  •เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  •ใช้คำถามปลายเปิด
  •เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น 
  •ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์

กิจกรรมบำบัด



นี่คือผลงานของกลุ่มหนูค่ะ


ผลงานของเพื่อนภายในห้อง

การประเมิน
  ประเมินตนเอง > เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมภายในห้อง
 ประเมินเพื่อน >  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบคำถามและทำกิจกรรม ช่วยกันร้องเพลง
  ประเมินอาจารย์> เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี มีกิจกรรมให้ทำตลอดเวลามีการสอดแทรกความรู้ต่างๆจากเนื้อหาทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


























วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  2 มีนาคม  2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ
     ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้ให้เล่นเกม รถไฟเหาะแห่งชีวิต ซึ่งเกมนี้เป็นแบบทดสอบทางจิตวิทยาของประเทศญี่ปุ่น


เนื้อที่เรียนให้วันนี้ ในหัวข้อ "การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ"
ทักษะทางสังคม
        -เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
        -การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
       กิจกรรมการเล่น
         -การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
         -เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
         -ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
       ยุทธศาสตร์การสอน
          -เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
          -ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
          -จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
          -ครูจดบันทึก
          -ทำแผน IEP
       การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
         -วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
         -คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
         -ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
         -เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครู” ให้เด็กพิเศษ
      ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
        -อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
        -ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
        -ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
        -เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
        -ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
     การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
        -ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
        -ทำโดย การพูดนำของครู
    ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
        -ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
        -การให้โอกาสเด็ก
        -เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
       -ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

กิจกรรมศิลปะจากเสียงเพลง
    อาจารย์ได้ให้จับคู่กัน 2 คน แล้วแจกกระดาษให้ 1 แผ่น และสีเทียนคนละ 1 ด้าม

หลังจากนั้นอาจานได้กำหนดให้คนนึงวาดเส้น และอีกคนวาดจุด ตามเสียงเพลงตัวเองคิดว่าเสียงเพลงตรงไหนมีจังหวะหนักเบาอย่างไรก็ให้เส้นควรเป็นแบบไปนจุดเล้กหรือไรก็แล้วแต่ความรู้สึกของตัวเราเอง
วาดเส้น

วาดจุด

ผลงานที่ได้



   หลังจากนั้นให้วาดภาพต่อเติมตามจินตนาการของตนเองจากเส้นและจุดที่วาดขั้นต้น
ชื่อผลงาน  สัตว์ในท้องทะเล
ผลงานของเพื่อนภายในห้อง


ซึ่งกิจกรรมนี้เป็น กิจกรรมบำบัดช่วยให้เด็กมีสมาธิมากขึ้นและสามารถทำงานร่วมกับเพื่อนได้

กิจกรรมสุดท้าย  ฝึกร้องเพลงใหม่ 5 เพลง ดังนี้


การนำไปใช้
  สามารถทำการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษไปใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม เด็กสามารถทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้อย่างมีความสุข

การประเมิน
  ประเมินตนเอง > เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี ทำกิจกรรมภายในห้อเรียนได้ไม่ค่อยเต็มที่สักเท่าไหร่เนื่องจากมีผลมาจากการเรียนลูกเสือในตอนเช้าทำให้รู้สึกเพลียๆ
  ประเมินเพื่อน >  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ เพื่อนบางคนขาดเรียนเนื่องจากร่างกายไม่ไหวจากกิจกรรมลูกเสือ ส่วนเพื่อนที่มาเรียนก็ตั้งใจเรียน สนใจในกิจกรรม ช่วยกันร้องเพลง
  ประเมินอาจารย์> เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี มีกิจกรรมให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียนซึ่งเป็นแบบจิตวิทยา อาจารย์เป็นคนที่คอยให้คำปรึกษาทุกเรื่องจริงๆแม้บางอย่างอาจารย์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ก็รับอาสาที่ช่วยเหลือทุกครั้ง