วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  26 มกราคม 2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ
   - กิจกรรมแรก  วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 สีไม้และกบเหลาให้นักศึกษาทุกคนภายในห้อง




หลังจากนั้นอาจารย์ได้นำรูปดอกบัวมาให้ดูแล้วบอกว่า ให้วาดภาพและระบายสีให้เมือนแบบของอาจารย์มากที่สุด ซึ่งรูป 2 รูปด้านล่าง ภาพบนจะเป็นของอาจารย์ ภาพล่างจะเป็นของหนูเองค่ะ


- กิจกรรมที่ 2  เรียนเรื่องของบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวมซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

    บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
  - การวินิจฉัยครูห้ามพูดอาการกับผู้ปกครองของเด็กโดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดข้อผิดพลาดหรือเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  - ห้ามตั้งฉายาให้เด็กเด็ดขาด เพราะชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป เด็กจะเสียใจเมื่อถูกตั้งฉายา 

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  - พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
  - พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
  -  ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
  -  ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
  -  ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
  -  ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องพัฒนาการต่างๆ(ครูต้องมีเทคนิคในการพูด)
  -  ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
  -  สังเกตเด็กอย่างมีระบบ(มีการวางแผน,มีการจดบันทึก)
  -  จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ
  -  ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
  -  ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
  -  ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
  -  จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
  -  เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
  -  บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  -  ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  -  ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
  -  พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
  -  การนับอย่างง่ายๆ  เป็นการนับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม ระยะเวลาเท่าไหร่เป็นจำนวนกี่ครั้ง
  -  การบันทึกต่อเนื่อง  เป็นการบันทึกที่ให้รายละเอียดได้เยอะและเป็นวิธีที่ดีที่สุด เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
  -  การบันทึกไม่ต่อเนื่อง  เป็นการบันทึกสั้นๆ ฉับไวในช่วงเวลาหนึ่งลงบัตรเล็กๆ

  การตัดสินใจ
ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง พฤติกรรมของเด็กไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
-กิจกรรมถัดมาร้องเพลงเพื่อบำบัดเด็ก 5 เพลง ดังนี้


  หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้นำรูปภาพดอกบัวของทุกคนออกเฉลยให้สิ่งที่เห็นบนภาพโดยให้บอกแบบเด็กพิเศษถ้าสมมุติเราเป็นเด็กพิเศษเราเห็นอะไรในภาพบ้าง ซึ่งจะตอบได้ว่า เห็นบัวบาน มีกลีบ14กลีบ มีเกสรสีเหลือง ตรงกลางมีจุดๆ ก้านสีเขียว การตอบของเด็กแบบนี้ครูจะใช้การบันทึกแบบต่อเนื่องในการบันทึกโดยไม่ใส่ความคิดความรู้สึกลงไป

- ทำกิจกรรม Post test หลังเรียน 

การนำไปใช้ 
   สามารถนำความรู้ไปใช้กับอาชีพครูในอนาคต  โดยปฎิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักการทำให้ปกครองไว้วางใจเราได้ในระดับนึง ในการดูแลเด็กภายในชั้นเรียน

การประเมิน
  ประเมินตนเอง > เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีส่วนร่วมในกิจกรรม  สนุกสนานร่วมกันร้องเพลงและปรบมือ วันนี้ดีใจมากได้ดาวเด็กดีกับอาจารย์เบียร์ไม่คิดว่าตัวเองจะได้จากการพูดไปแบบไม่ได้ตั้งใจ ขอบคุณอาจารย์เบียร์นะคะ
  ประเมินเพื่อน >  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบคำถามและทำกิจกรรม ช่วยกันร้องเพลง
  ประเมินอาจารย์> เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี อาจารย์ร้องเพลงเพราะเข้าจังหวะเสียงน่ารัก อาจารย์ให้ดอกาสเด็กแสดงความคิดเห็นในทุกเรื่อง





  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น