วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  26 มกราคม 2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ
   - กิจกรรมแรก  วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 สีไม้และกบเหลาให้นักศึกษาทุกคนภายในห้อง




หลังจากนั้นอาจารย์ได้นำรูปดอกบัวมาให้ดูแล้วบอกว่า ให้วาดภาพและระบายสีให้เมือนแบบของอาจารย์มากที่สุด ซึ่งรูป 2 รูปด้านล่าง ภาพบนจะเป็นของอาจารย์ ภาพล่างจะเป็นของหนูเองค่ะ


- กิจกรรมที่ 2  เรียนเรื่องของบทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวมซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

    บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

ครูไม่ควรวินิจฉัย
  - การวินิจฉัยครูห้ามพูดอาการกับผู้ปกครองของเด็กโดยเด็ดขาด เพราะอาจเกิดข้อผิดพลาดหรือเข้าใจผิดได้

ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
  - ห้ามตั้งฉายาให้เด็กเด็ดขาด เพราะชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป เด็กจะเสียใจเมื่อถูกตั้งฉายา 

ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  - พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
  - พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
  -  ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
  -  ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
  -  ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

ครูทำอะไรบ้าง
  -  ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องพัฒนาการต่างๆ(ครูต้องมีเทคนิคในการพูด)
  -  ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
  -  สังเกตเด็กอย่างมีระบบ(มีการวางแผน,มีการจดบันทึก)
  -  จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

สังเกตอย่างมีระบบ
  -  ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
  -  ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
  -  ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

การตรวจสอบ
  -  จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
  -  เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
  -  บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
  -  ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
  -  ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
  -  พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

การบันทึกการสังเกต
  -  การนับอย่างง่ายๆ  เป็นการนับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม ระยะเวลาเท่าไหร่เป็นจำนวนกี่ครั้ง
  -  การบันทึกต่อเนื่อง  เป็นการบันทึกที่ให้รายละเอียดได้เยอะและเป็นวิธีที่ดีที่สุด เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
  -  การบันทึกไม่ต่อเนื่อง  เป็นการบันทึกสั้นๆ ฉับไวในช่วงเวลาหนึ่งลงบัตรเล็กๆ

  การตัดสินใจ
ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง พฤติกรรมของเด็กไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
-กิจกรรมถัดมาร้องเพลงเพื่อบำบัดเด็ก 5 เพลง ดังนี้


  หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้นำรูปภาพดอกบัวของทุกคนออกเฉลยให้สิ่งที่เห็นบนภาพโดยให้บอกแบบเด็กพิเศษถ้าสมมุติเราเป็นเด็กพิเศษเราเห็นอะไรในภาพบ้าง ซึ่งจะตอบได้ว่า เห็นบัวบาน มีกลีบ14กลีบ มีเกสรสีเหลือง ตรงกลางมีจุดๆ ก้านสีเขียว การตอบของเด็กแบบนี้ครูจะใช้การบันทึกแบบต่อเนื่องในการบันทึกโดยไม่ใส่ความคิดความรู้สึกลงไป

- ทำกิจกรรม Post test หลังเรียน 

การนำไปใช้ 
   สามารถนำความรู้ไปใช้กับอาชีพครูในอนาคต  โดยปฎิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักการทำให้ปกครองไว้วางใจเราได้ในระดับนึง ในการดูแลเด็กภายในชั้นเรียน

การประเมิน
  ประเมินตนเอง > เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีส่วนร่วมในกิจกรรม  สนุกสนานร่วมกันร้องเพลงและปรบมือ วันนี้ดีใจมากได้ดาวเด็กดีกับอาจารย์เบียร์ไม่คิดว่าตัวเองจะได้จากการพูดไปแบบไม่ได้ตั้งใจ ขอบคุณอาจารย์เบียร์นะคะ
  ประเมินเพื่อน >  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบคำถามและทำกิจกรรม ช่วยกันร้องเพลง
  ประเมินอาจารย์> เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี อาจารย์ร้องเพลงเพราะเข้าจังหวะเสียงน่ารัก อาจารย์ให้ดอกาสเด็กแสดงความคิดเห็นในทุกเรื่อง





  


วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  19 มกราคม 2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ
    รูปแบบการจัดการศึกษา
 1.  การศึกษาปกติทั่วไป(Regular Education)
 2. การศึกษาพิเศษ(Special Education)
 3.การศึกษาแบบเรียนร่วม(Integrated Educaiton หรือ Mainstreaming)
 4.การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
  ความหมายของการการศึกษาแบบเรียนร่วม
     -การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
     -มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
     -ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
     -ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน    
      การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
       คือ การให้เด็กพิเศษมาเรียนบางเวลาโดยเป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการปานกลาง-มากจึงไม่อาจเรียนเต็มเวลา ในรายวิชา ศิลปะ พละ ดนตรี
     การเรียนร่วมเต็มเวลา(Mainstreaming)
  คือ การให้เด็กเรียนตลอดทั้งวันโดยจัดกระบวนการเรียนการสอนเหมือนเด็กปกติเด็กพิเศษจะอยู่ในระดับปานกลาง-น้อย 
Wilson , 2007
-การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
-การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
-กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
-เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง

ความหมายของการเรียนแบบรวม 
  • การศึกษาสำหรับทุกคน
  • เด็กอยู่ตั้งแต่แรกในการรับเข้าศึกษา
  • จัดให้บริการพิเศษของแต่ละบุคคล
ความหมายการเรียนรู้แบบเรียนรวมสากลทั่วโลก
  ''Inclusive Education is Education for all,
   It involves  receiving people
   at the beginning of their  education,
   with provision of additional  services
   needed by each  individual''

การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาของทุกคนเริ่มตั้งแต่การศึกษาขั้นปฐมวัยแต่ละบุคคลต้องได้รับการช่วยแหลือที่แตกต่างกันตามความต้องการของแต่ละบุคคล
 สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
    -เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
    -เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
    -เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All)
    -การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
    -เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
    -เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
    -ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก
     ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
-ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-“สอนได้
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

การประเมิน
  ประเมินตนเอง > เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีส่วนร่วมในกิจกรรม  สนุกสนานร่วมกันร้องเพลงและปรบมือ
  ประเมินเพื่อน >  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบคำถามและทำกิจกรรม ช่วยกันร้องเพลง
  ประเมินอาจารย์> เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีการเคตรียมการสอนเป็นอย่างดี อาจารย์ร้องเพลงเพราะ อาจารย์น่ารักมากเข้าใจในความรู้สึกของเด็ก คอยชี้นำแนวทางให้ทางที่ถูกต้องให้อยู่เสมอ





วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  12 มกราคม 2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.

ความรู้ที่ได้รับ


  • อาจารย์เล่าถึงบรรยากาศต่างๆภายในโครงการ "จิตอาสาพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัยด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"ที่พี่ปี 4 ได้ไปทำกิจกรรมในจังหวัดบุรีรัมย์ เล่าถึงการเดินทาง การกิน ที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อมภายนอก ทำให้พวกเราได้คิดถึงอนาคตในปีหน้าว่าจะต้องมีการวางแผนมากน้อยเพียงใด
  • อาจารย์ได้ข้อสอบปลายภาคในวิชา การอบรมเลี้ยงดูปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ที่สอบไปเมื่อเทอมที่แล้ว  และร่วมกันตอบคำถามภายในห้องเรียน
  • ชี้แจงแนวการสอน ในรายวิชานี้ และชี้แจงในเรื่องคะแนนที่จะได้รับดังนี้      
                    1. Blog  20 คะแนน
                    2. จิตพิสัย 20 คะแนน
                    3. แผนIEP  10 คะแนน
                    4. กิจกรรมภายในห้องเรียน  40 คะแนน
  • การกำหนดข้อตกลงต่างๆภายในห้องเรียน 
            การแต่งกายมาเรียน , ทรงผม , รองเท้า 
  • ได้ทำกิจกรรมทดสอบความรู้เดิม โดยอาจารย์แจกใบคำถามให้โดยให้ตอบด้วยความรู้ที่มีอยู่ไม่ลอกเพื่อนหรือดูข้อมูลใดๆเลย
  • ฝึกร้องเพลง 5 เพลง ดังนี้
                  1. เพลงนม
                  2. เพลงอาบน้ำ
                  3. เพลงแปรงฟัน
                  4. เพลงพี่น้องกัน
                  5. เพลงมาโรงเรียน



การประเมิน
  ประเมินตนเอง > เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีส่วนร่วมในกิจกรรม
  ประเมินเพื่อน >  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบคำถามและทำกิจกรรม ช่วยกันร้องเพลง
  ประเมินอาจารย์> เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ ชอบที่อาจารย์เล่าถึงเรื่องต่างๆให้ฟังรู้สึกสนุกและทำให้เล่ามีการเตรียมความพร้อม อาจารย์ร้องเพลงเพราะ