วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  9 กุมภาพนธ์ 2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ
 1. กิจกรรมแรกก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจารย์ได้แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น และถุงมือ 1 ข้าง
 ซึ่งขั้นตอนในการทำกิจกรรมมีดังนี้
      1. พับกระดาษครึ่งแผ่น และให้ใส่ถุงมือในข้างที่ไม่ถนัด หลังจากนั้น ให้วาดภาพมือที่ใส่ถุงมือให้มีความเหมือนมากที่สุด  (ห้ามเปิดดู)
   

   2. ถอดถุงมือออกแล้วให้วาดภาพมือของตนเองให้แบบที่เห็นทุกอย่าง



ภาพซ้าย ภาพที่วาดจากถุงมือ  ภาพขวา ภาพที่วาดจากมือจริง


    จากกิจกรรมจะได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวที่อยู่กับเราตลอดเววลาเราต้องมีการสังเกตในสิ่งที่คุนเคย ซึ่งถือว่าการสังเกตเป็นสิ่งสำคัญในการเป็นครูอย่างหนึ่ง เราจะใช้กับการสังเกตพัฒนาการของเด็กอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ซึ่งเราจะสามารถบันทึกพฤติกรรมของเด็กได้โดยการจดบันทึกเล็กๆจากสิ่งที่เห็นมากกว่าการจดจำแล้วบันทึกที่หลัง

2.เนื้อหาที่เรียน
   การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
- ทักษะของครูและทัศนคติ
  การฝึกเพิ่มเติม
     -อบรมระยะสั้น สัมมนา (การให้ความรู้แก่ครู)
     -สื่อต่างๆ (VDO, Internet, หนังสือ)
  การเข้าใจภาวะปกติ
      -เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง =  ในเรื่องพัฒนาการ
     -ครูต้องเรียนรู้ มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ = การพูดคุย, ทักทาย,เข้าไปช่วยเหลือ
     -รู้จักเด็กแต่ละคน = เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ควรจำชือเด็กให้ได้
     -มองเด็กให้เป็น เด็ก” 
  การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
    -การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
 ความพร้อมของเด็ก
   -วุฒิภาวะ
   -แรงจูงใจ
   -โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ (สอนจากปัญหาที่เกิด)
   -ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
   -เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น   
   -ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
   -ครูต้องมีความสนใจเด็ก
   -ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
   -ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
   -ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
   -ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
   -ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์
   -มีลักษณะง่ายๆ
   -ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
   -เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
   -เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
ตารางประจำวัน
     -เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
   -กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
   -เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
   -การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
   -คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
     ความยืดหยุ่น
  -การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
  -ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
  -ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน
    การใช้สหวิทยาการ
    -ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
   -สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
  การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
   -เด็กทุกคนสอนได้
   -เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
   -เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
  -ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
  -มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
  -หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
  -ตอบสนองด้วยวาจา
  -การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
  -พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
  -สัมผัสทางกาย
  -ให้ความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
  -ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
  -ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
  -ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท (prompting)
  -ย่อยงาน
  -ลำดับความยากง่ายของงาน
  -การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
  -การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
  -สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
  -วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
  -สอนจากง่ายไปยาก
  -ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
  -ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
  -ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
  -ทีละขั้น ไม่เร่งรัด ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
  -ไม่ดุหรือตี
  - การกำหนดเวลา
  -จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
  -พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน
  -เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
  -สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
เด็กตักซุป
  -การจับช้อน                                                     -การตัก                                                              -การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
  -การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดค้าง
  -การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก
การลดหรือหยุดแรงเสริม
  -ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  -ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
  -เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
  -เอาเด็กออกจากการเล่น
"ความคงเส้นคงวา" คนเป็นเป็นครูต้องปฎิบัติตนแบบเสมอต้นเสมอปลาย 
3. ทำPost test หลังเรียนครั้งนี้ไม่ได้ให้ทำใส่กระดาษแต่อาจารย์ให้ช่วยกันตอบภายในห้องเรียน
 โดยมีคำถามดังนี้
      1. การสอนโดยบังเอิญหมายความว่าอย่างไร
      2. การสอนโดยบังเอิญครูต้องพึงปฎิบัติอย่างไร
      3.ตารางประจำวันของเด็กควรเป็นอย่างไร
      4.การให้แรงเสริมเด็ก มีวิธีการอย่างไรบ้าง

การนำไปใช้
   สามารถทำทัศนคติและรูปแบบการสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติมาปรับใช้ในการเป็นครูในอนาคตได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับพฤติกรรมของเด็ก

การประเมิน
  ประเมินตนเอง > เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี ทำกิจกรรมวาดภาพมือไม่ค่อยเต็มที่เพราะนึกไม่ออกว่ามือของตัวเองเป็นอย่างไร วาดขนที่นิ้วเยอะจนเพื่อนทักว่าน่าเกลียดรู้สึกสนุกกับกิจกรรมของอาจารย์ทุกครั้ง
  ประเมินเพื่อน >  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบคำถามและทำกิจกรรม ช่วยกันร้องเพลง
  ประเมินอาจารย์> เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี มีกิจกรรมให้ทำตลอดเวลามีการสอดแทรกความรู้ต่างๆจากเนื้อหาทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น