วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 16

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  28 เมษายน  2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.

ความรู้ที่ได้รับ

การเขียนแผนการสอน IEP

 แผน IEP
•แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
•เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสม
  กับความต้องการและความสามารถของเขา
•ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
•โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
คัดแยกเด็กพิเศษ
ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถ
    ได้สูงสุดตามศักยภาพ
ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง 
   และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
รายงานทางการแพทย์
รายงานการประเมินด้านต่างๆ
บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
ระยะยาว
ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
จะสอนใคร
พฤติกรรมอะไร
เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
  ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง 
1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม  อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**
จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มล้วเขียนผนส่งกลุ่มละ 1 ทักษะ
กิจกรรมต่อมา กิจกรรมสอบร้องเพลง โดยการจับฉลากและให้ออกมาร้องทีละคน มีการกำหนดกติกาการให้คะแนนร่วมกัน
เพลงที่ดิฉันจับได้ คือ
 ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง   เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า  บ่งเวลาว่ากลางวัน
กิจกรรมสุดท้ายการถ่ายภาพร่วมกัน


ความในใจที่อยากจะบอก
     อยากบอกเลยว่ารู้สึกใจหายที่จะไม่ได้เรียนอาจารย์เบียร์อีก อาจารย์เบียร์เป็นคนน่ารักเข้าใจพวกหนูทุกเรื่อง บางครั้งเรื่องบางอย่างไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเรียนอาจารย์ก็ค่อยช่วยเหลือหรือแนะนำพวกหนูตลอด เพราะเหตุผลอะไรหลายๆอย่างที่ทำให้อยากเรียนกับอาจารย์ เวลาถึงวิชาของอาจารย์ทีไรหนูไม่เคยขาดเรียนเลยเรียนกับอาจารย์มีความสุขมาก ได้ทั้งประสบการณ์ความรู้ต่างๆมากมาย มีทั้งกำลังใจในการเรียนสามารถเรียนได้อย่างมีความสุข สุดท้ายหนูก็ไม่รู้บอกอะไรล้วมันบรรยายออกมาเป็นคำพูดไม่หมด แค่อยากจะสัญญากับอาจารย์เบียร์ว่าจะนำความรู้ประสบการณ์ต่างๆที่ได้จากอาจารย์เบียร์ในวิชานี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพครูให้ได้มากที่สุด รักอาจารย์เบียร์นะค่ะ













วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  20 เมษายน  2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ
    กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม แบบทดสอบทางจิตวิทยา



  กิจกรรมต่อมา เข้าสู่เนื้อหาบทเรียน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
    4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
 เป้าหมาย
•การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้  
•มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
•เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
•พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
•อยากสำรวจ อยากทดลอง
การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
ต่อบล็อก
ศิลปะ
มุมบ้าน
ช่วยเหลือตนเอง

วิธีการเลือกกรรไกรให้เหมาะกับเด็กปฐมวัย  
ควรเลือกหมายเลข 1 เพราะมีขนาดพอเหมาะ ปลายทู่ หูกรรไกรมีขนาดพอดีกับนิ้วเด็ก


ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
•ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
•รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

- การนับ 
- การจำนก
- การเปรียบเทียบ
- การวัด
- การจัดหมวดหมู่
- การสังเกต
- การสำรวจ
- การทดลอง
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก

การประเมิน
  ประเมินตนเอง > เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมภายในห้อง
 ประเมินเพื่อน >  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบคำถามและทำกิจกรรม ช่วยกันร้องเพลง
 ประเมินอาจารย์> เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี มีกิจกรรมให้ทำตลอดเวลามีการสอดแทรกความรู้ต่างๆจากเนื้อหาทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น







วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  13 เมษายน  2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ
     ไม่มีการเรียนการสอน



หมายเหตุ เนื่องจากเป็นวันหยุดสงกรานต์



วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  6 เมษายน  2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     ไม่มีการเรียนการสอน



 หมายเหตุ  มหาวิทยาลัยหยุดเนื่องจาก  เป็นวันจักรี


วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  30 มีนาคม  2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ

    สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากนำวิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์มาเรียนชดเชยแทน เพราะคาบวิชาในวันพุธทางคณะมีการจัดกิจกรรมกีฬาสี




วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  23 มีนาคม  2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ
     
      สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เป็นการสอบย่อยเก็บคะแนน 10 คะแนน  

ความรู้สึกในการสอบครั้งนี้ ไม่ค่อยมั่นใจอยู่สักเท่าไหร่เข้าใจในเนื้อหาแต่เวลาทำข้อสอบจริงๆไม่รู้จะเขียนอธิบายออกยังไงรู้สึกกดดันเลยไม่แน่ใจว่าที่เขียนไปจะถูกต้องหรือป่าว เลยอยากให้อาจารย์เบียร์ช่วยพิจารณาด้วยนะค่ะ




วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 10


บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3214)
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  16 มีนาคม  2558
กลุ่มเรียน 104     เวลา 12.20-15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ
     ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้ให้เล่นเกม แบบทดสอบทางจิตวิทยา "ไร่สตอเบอร์รี่"


เนื้อหาที่ได้เรียน 
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
    เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
    การกินอยู่
    การเข้าห้องน้ำ
    การแต่งตัว
    กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
  •เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
  •อยากทำงานตามความสามารถ
  •เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
   การได้ทำด้วยตนเอง
   •เชื่อมั่นในตนเอง
   •เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
  •ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
  •ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
  •ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
  •“ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
  เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
  •หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
  •เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
  •มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
  แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
  •เรียงลำดับตามขั้นตอน
การวางแผนทีละขั้น
  แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
•ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
•ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
•ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
•ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
•เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ


กิจกรรมร้องเพลง



กิจกรรมบำบัด
    อาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นแล้วให้วาดวงกลมวนไปเรื่อยๆโดยเริ่มจากวงเล็กไปหาใหญ่ตามความต้องการของตนเอง ใช้สีโดยไม่ซ้ำกัน 
นี่คือ วงกลมของฉัน
หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ทุกคนนำวงกลมของตัวเองไปติดไว้ที่ลำต้น

ผลงานต้นไม้วิเศษ ที่ทุกคนสร้างขึ้นมา

กิจกรรมนี้ สามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มิติสัมพันธ์ การแสดงออกตามจินตนาการ คณิตศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ สมาธิ 

การนำความรู้ไปใช้
  สามารถนำทักษะการช่วยเหลือตนเองของเด็กไปพัฒนาการเรียนการสอน เช่นการย่อยงานให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเอง และการจัดกิจกรรมบำบัดให้กับเด็กได้เหมาะสม

การประเมิน
  ประเมินตนเอง > เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมภายในห้อง
 ประเมินเพื่อน >  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ มีส่วนร่วมในการตอบคำถามและทำกิจกรรม ช่วยกันร้องเพลง
  ประเมินอาจารย์> เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี มีกิจกรรมให้ทำตลอดเวลามีการสอดแทรกความรู้ต่างๆจากเนื้อหาทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น